ข่าวการเงิน - การลงทุน

03 August 2008

The Diamond Model

The Diamond Model

ในการวางกลยุทธ์การแข่งขันข้ามพรมแดนต้องคำนึงถึง (1) ปัจจัยด้านที่ตั้ง (Location) และ (2) ความได้เปรียบในการแข่งขันที่เป็นผลจากความร่วมมือข้ามพรมแดนหรือ Global Networks โดยมีเครื่องมือที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบของ Location ที่มีต่อความสามารถในการแข่งขันคือ Diamond Model ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์ทั้งปัจจัยที่เป็นบวกและลบออกเป็น 4 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ปัจจัยและเงื่อนไขที่เป็น Input ของการพัฒนาอุตสาหกรรม (Factor Conditions) ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน เงินทุน ระบบสาธารณูปโภค, (2) อุปสงค์ของสินค้า/บริการ (Demand Conditions), (3) อุตสาหกรรมที่สนับสนุนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และ (4) กลยุทธ์ของบริษัท โครงสร้างอุตสาหกรรม และคู่แข่ง และมีปัจจัยภายนอกเพิ่มเติมอีก 2 ปัจจัย คือ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต และกฎระเบียบและนโยบายของรัฐที่เกี่ยวโยงกับองค์ประกอบหลักทั้งสี่ด้าน


ตัวอย่าง
ใน Diamond Model ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ซึ่งได้แก่ (1) เงื่อนไขปัจจัยการผลิต (2) อุตสาหกรรมเชื่อมโยงและสนับสนุน (3) เงื่อนไขด้านอุปสงค์ และ (4) บริบทของการแข่งขันและกลยุทธ์ทางธุรกิจ

จากการศึกษาแบบ Top-down จากบนสู่ล่าง และ Bottom-up Approach กระบวนจากล่างขึ้นบน คณะทำงานได้พบประเด็นสำคัญ ที่ส่งผลกระทบทั้งในการสนับสนุน และเป็นอุปสรรค ต่อการสร้างความสามารถ ในการแข่งขันของไทย ซึ่งเป็นประเด็นพื้นฐานทั่วไป ที่พบทั้งในระดับของการศึกษาจากภาพรวม และจากการศึกษาระดับอุตสาหกรรม 5 อุตสาหกรรม ที่นำมาเป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้ สรุปได้ดังนี้

1) ด้านเงื่อนไขปัจจัยการผลิต
๐ ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะมี Bio-diversity สูง และมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติสวยงาม แต่เริ่มมีปัญหาการเสื่อมโทรมลง
๐ โครงสร้างพื้นฐานโดยทั่วไปอยู่ในระดับดี โดยเฉพาะถนน แต่ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ยังมีปัญหาด้านการกระจุกตัว ของเครือข่ายในเขตเมือง และราคาบริการที่สูง
๐ การศึกษา และคุณภาพของแรงงานไทยโดยทั่วไปต่ำ การผลิตแรงงาน ที่มีความสามารถเฉพาะ/ขั้นสูง ยังมีจำกัด และด้อยคุณภาพ และไม่สอดคล้อง กับความต้องการของอุตสาหกรรม
๐ ความสามารถทางเทคโนโลยีของธุรกิจไทย อยู่ในระดับต่ำ การวิจัยและพัฒนา (R&D) ยังใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้น้อย และมีปัญหาเรื่องกลไก และระบบการบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๐ ตลาดทุนยังอ่อนแอ ทำให้เอกชนส่วนใหญ่พึ่งพาตลาดเงิน ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินที่สูงของธุรกิจ

2) อุตสาหกรรมเชื่อมโยงและสนับสนุน
๐ การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการเชื่อมโยงเชิงกิจกรรม ในห่วงโซ่อุปทานตลอดสาย ของอุตสาหกรรมต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ แต่ในบางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมอาหาร ยังคงมีปัญหาของการเชื่อมโยงเชิงกิจกรรม ในทุกช่วงของห่วงโซ่อุปทาน
๐ ส่วนการเชื่อมโยงในเชิงความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) ก็ยังมีปัญหามาก ซึ่งพบได้ในอุตสาหกรรมทั้ง 5 กลุ่มที่ได้ศึกษา เนื่องจากการขาดกลไก ที่จะผลักดันให้เกิดความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ
๐ สถาบันเพื่อความร่วมมือของกลุ่มอุตสาหกรรม ได้มีการจัดตั้งอยู่บ้างแล้ว เช่น การรวมกลุ่มของธุรกิจ เป็นสมาคมการค้าต่างๆ แต่ส่วนใหญ่เน้นทำกิจกรรมวิ่งเต้น และเจรจาต่อรอง เพื่อผลประโยชน์ มากกว่าจะสนับสนุน การพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม ให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ส่วนสถาบันเฉพาะทางสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมยังคงอ่อนแอ และขาดศักยภาพ ที่จะเป็นแกนกลางในการสร้างความร่วมมือ ของอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม หลายสถาบันได้มีการริเริ่มกิจกรรมต่างๆ ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจให้กับสมาชิก รวมทั้งหลายแห่งได้มีการริเริ่มกิจกรรม การแลกเปลี่ยนข้อมูล การสร้างเครือข่ายธุรกิจ รวมทั้งประสานความร่วมมือ ระหว่างสถาบันการศึกษากับธุรกิจ ซึ่งจะเป็นรากฐาสำคัญของการพัฒนา และสร้างความเข้มแข็ง ให้กับเครือข่ายวิสาหกิจบ้างแล้ว

3) เงื่อนไขด้านอุปสงค์
๐ อุปสงค์ภายในประเทศของผู้บริโภคทั่วไป ยังคงมีความพิถีพิถันน้อย ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพ และมาตรฐานสินค้า และบริการเท่าที่ควร เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ มีการศึกษาน้อย และมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่ประนีประนอมสูง
๐ ปัจจัยผลักดันให้ธุรกิจปรับปรุงประสิทธิภาพ และมาตรฐาน ส่วนใหญ่มาจากอุปสงค์ของต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้เป็นปัจจัย ที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน เนื่องจากการพัฒนามาตรฐาน และคุณภาพได้ตามระดับสากลนั้น เป็นลักษณะที่ประเทศอื่นๆ สามารถที่จะเลียนแบบ และพัฒนาจนมีระดับเท่าเทียมกันได้
๐ มีจุดแข็งของอุปสงค์ภายในประเทศ ที่มีลักษณะเฉพาะในบางสินค้า เช่น รถปิกอัพ ซึ่งมีความพิถีพิถันสูง และมีศักยภาพ ในระดับที่ชี้นำอุปสงค์ของโลกได้
๐ อุปสงค์จากภาครัฐในฐานะผู้ซื้อรายใหญ่ของอุตสาหกรรม ยังขาดความพิถีพิถัน มุ่งเน้นราคาต่ำมากกว่าคุณภาพ จึงไม่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพ หรือผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น

4) สภาพแวดล้อมการแข่งขันและกลยุทธ์ธุรกิจ
๐ ระดับการเปิดกว้างต่อการแข่งขัน และการลงทุนจากต่างประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจมีการแข่งขันกันมาก และผลิตภาพของธุรกิจสูงขึ้น
๐ การเปิดเสรียังล่าช้า อัตราภาษียังสูง ซับซ้อน และไม่สอดคล้องกับระดับการพัฒนาของแต่ละอุตสาหกรรม
๐ การบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้ายังมีปัญหา และไม่เอื้อต่อการสร้างบรรยากาศในการแข่งขันที่เป็นธรรม
๐ กลไกราชการขาดประสิทธิภาพ มีปัญหาคอรัปชั่น ซึ่งก่อให้เกิดภาระต้นทุนแก่ธุรกิจ ๐ บริษัทส่วนใหญ่แข่งขันบนพื้นฐานปัจจัยการผลิตราคาถูก และการตัดราคา และมีการลงทุน เพื่อการพัฒนาความสามารถ ในการแข่งขันในระยะยาวน้อย

Porter's Five Force

Porter's Five Force วิเคราะห์อุตสาหกรรมและการแข่งขัน

Michael E Porter's Five Forces เป็นหลักการประเมินธุรกิจรูปแบบหนึ่งครับ โดยหลักการนี้จะแบ่งการประเมิน 5 ทิศทางหรือ 5 ข้อคือ

1. ประเมินความสามารถของคู่แข่ง
ก็ต้องดูว่าคู่แข่งมีความสามารถแค่ไหน โดยอาจวิเคราะห์จาก SWOT ของคู่แข่งเทียบกับธุรกิจของตน
2. ความยากง่ายของเจ้าใหม่ที่จะเข้าตลาด
อุตสาหกรรมนี้รายใหม่เข้าได้ยากง่ายเพียงไร หากธุรกิจต้องใช้เงินลงทุนสูงมากๆ และมีข้อกำหนดหลายอย่างจะทำให้เป็นการยากที่รายใหม่จะเกิดขึ้น
3. อำนาจการต่อรองของ supplier
supplier มีอำนาจต่อรองมากน้อยเพียงไร ยิ่งบริษัทเราใหญ่มากเท่าไรอำนาจการต่อรองของ supplier ยิ่งน้อยลงเท่านั้น ยิ่ง supplier มีการแข่งขันกันสูง supplier ยิ่งมีอำนาจต่อรองน้อย
4. Buyer power
ผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองมากเพียงไร หากเป็นธุรกิจที่พึ่งพาลูกค้ารายใหญ่จะทำให้ผู้ซื้อมีอำนาจมากกว่าบริษัท ทำให้การขึ้นราคาสินค้าเป็นไปได้ยาก
5. สินค้าทดแทน
สินค้านี้มีสินค้าทดแทนได้มากน้อยเพียงไร และในอนาคตมีแนวโน้มจะมีสินค้าทดแทนหรือไม่ รวมถึงสินค้าในกลุ่มอื่นที่ไม่เคยขายแข่งในตลาดเดียวกัน เช่น กล้องถ่ายรูปที่จะถูกแทนที่ด้วยโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายภาพได้ ถึงแม้จะไม่สามารถแทนที่กันได้โดยสมบูรณ์แต่ก็เป็นคู่แข่งที่แย่งส่วนแบ่งตลาดกล้องถ่ายรูปได้มากทีเดียว

ตัวอย่าง
การวิเคราะห์ตามตัวแบบ Porter’s Five Force Model ในอุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทย


1. สภาพการแข่งขันระหว่างผู้แข่งขันรายเดิม (Rivalry among Firms)
􀂙 ภายในประเทศ
+ กระทรวงพาณิชย์ปรับลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง เกษตรกรผู้ผลิต
จึงขยายการเลี้ยงไก่มากขึ้น1 ส่งผลให้ผลผลิตไก่ออกสู่ตลาดปริมาณมาก การแข่งขันด้านราคาจึงเพิ่มขึ้น
- จำนวนโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการส่งออกจากประเทศคู่ค้ามีมากขึ้น ส่งผลให้การแข่งเพื่อ
ส่งออกทวีความรุนแรงขึ้น
- การแข่งขันการเลี้ยงไก่ในฟาร์มระบบปิดเพิ่มจำนวนขึ้น เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อแบบอิสระหันไป
เลี้ยงไก่เนื้อแบบประกันราคาและรับจ้างเลี้ยงมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก
- ผู้ผลิตมีการรวบกลุ่มกันเพื่อควบคุมการผลิต ในกรณีเกิดภาวะไก่ล้นตลาด
+ ธุรกิจโรงฆ่าและชำแหละไก่ ถูกควบคุมมาตรฐานการผลิตอย่างเข้มงวดโดยกรมปศุสัตว์ นับตั้งแต่เกิดการ
ระบาดของโรคไข้หวัดนก ทำให้โรงงานปรับปรุงมาตรฐานโรงฆ่าและชำแหละไก่ ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น

􀂙 ภายนอกประเทศ
+ จำนวนคู่แข่งในการส่งออกเนื้อไก่สดในตลาดโลกลดลง เนื่องจากเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกใน
ประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก ส่งผลดีต่อประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก
และเป็นโอกาสให้เกิดผู้ส่งออกรายใหม่ เช่น อาเจนติน่า
- ประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทยมีการแข่งขันด้านราคาอย่างเข้มข้น โดยใช้ความได้เปรียบด้านต้นทุนการ
ผลิตที่ต่ำกว่า
- เกิดการแข่งขันในสินค้าไก่แปรรูปปรุงสุกมากขึ้น เนื่องจากประเทศที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนก
หันมาผลิตสินค้าไก่ปรุงสุก เช่น ไทย และจีน

2. ด้านคู่แข่งรายใหม่ (Threat of New Entrants)
+ บราซิลผู้ส่งออกเนื้อไก่คู่แข่งในตลาดญี่ปุ่น เสียเปรียบด้านต้นทุนในการขนส่งเมื่อเทียบกับไทย เนื่องจาก
ระยะทางการขนส่งที่ห่างไกลกว่า
+ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย มีความเชื่อมั่นในระบบการผลิตและคุณภาพมาตรฐานสินค้าไทย เพราะมี
การพัฒนาร่วมกันมานาน
- การระบาดของโรคไข้หวัดนก ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่มีความพร้อมด้านเงินลงทุนสำหรับการ
เลี้ยงไก่เนื้อระดับฟาร์มแบบโรงเรือนปิดไม่กล้าลงทุนสำหรับเริ่มกิจการเลี้ยงไก่เนื้อเนื่องจากมีความเสี่ยงสูง
- การเปลี่ยนแปลงสายการผลิตจากไก่สดแช่เย็นแช่แข็งมาเป็นไก่แปรรูปปรุงสุก ถูกจำกัดด้วยปัจจัย
สนับสนุนด้านเงินทุน และกฎระเบียบ มาตรฐานการค้าของประเทศคู่ค้า
- สหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทยมีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ทวีความเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะ
มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Protocal) มาตรการสวัสดิภาพสัตว์ (Animal
Welfare) มาตรการสมุดปกขาว (White paper on food safety) และการกำหนดโควตานำเข้า

3. ด้านสินค้าทดแทน (Threat of Substitutes)
+ มีแนวโน้มว่าผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น มีการเปลี่ยนแปลงรสนิยมในการบริโภค
จากเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง (red meat) เช่น โค สุกร มาเป็นเนื้อสัตว์เล็ก (white meat) เช่น ไก่ เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคเชื่อว่า
มีความปลอดภัยมากกว่า
+ เนื้อไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับเนื้อหมู เนื้อวัว รวมทั้งมีแคลอรีต่ำ แนวโน้มการ
บริโภคในอนาคตจึงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่รักสุขภาพ
- มีเนื้อสัตว์ชนิดอื่นทดแทน เป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกเช่น เนื้อหมู วัว ปลา และอาหารทะเล นอกจากนี้ยัง
มีแหล่งโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง โปรตีนสกัดจากพืช (โปรตีนเกษตร) เป็นต้น
- มีสินค้าทดแทนสินค้าไก่แปรรูปหลายชนิดที่จำหน่ายในลักษณะร้านอาหารจานด่วน (Fast Food) และ
บางส่วนจะอยู่ในรูปอาหารไทยสำเร็จรูปแบบ ready to eat และ ready to cook ตามร้านสะดวกซื้อ
- เมื่อราคาไก่ของประเทศไทยสูงขึ้นประเทศคู่ค้าของไทย อาจหันไปซื้อไก่ของประเทศคู่แข่งของไทยได้
เพราะสินค้าไม่มีความแตกต่าง

4. ด้านอำนาจต่อรองของ Suppliers (Bargaining Power of Suppliers)
- จำนวนผู้จำหน่าย ไก่ ปู่-ย่า พ่อ-แม่ พันธุ์ไก่เนื้อมีจำนวนน้อยราย ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพิงการนำเข้า
ปัจจัยดังกล่าว จึงไม่สามารถกำหนดราคาได้เอง
- ประเทศไทยไม่สามารถผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมไก่เนื้อได้เองทั้งหมด จึงต้อง
นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ไทยจึงเสียเปรียบในด้านต้นทุนการผลิตประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เช่น บราซิล
สหรัฐอเมริกา
- ผู้ประกอบการที่จำหน่าย ยา และเวชภัณฑ์สัตว์เพื่อป้องกันและรักษาโรคระบาด เป็นผู้กำหนดราคาสินค้า
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวที่สำคัญในการกำหนดต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ถ้าต้นทุนการผลิตดังกล่าวสูง จะส่งผลต่อการ
กำหนดราคาขายสินค้าไก่เนื้อทำให้มีราคาสูง ทำให้ปริมาณการขายลดลง
อุตสาหกรรมไก่

5. ด้านอำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Buyers)
- ตลาดส่งออกไก่แปรรูปของไทยมีเพียง 2 ตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในสัดส่วนที่สูง
ประเทศดังกล่าวมีแหล่งนำเข้าไก่แปรรูปได้จากหลายแหล่ง ทำให้ไทยมีอำนาจในการต่อรองราคาต่ำ
- ลูกค้ามีอำนาจในการกำหนดสูตรและลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปตามที่ต้องการ ทำให้การ
ผลิตและส่งออกไก่แปรรูปของไทยยังเน้นที่การผลิตตามคำสั่งของลูกค้าแต่ละราย ประกอบกับไม่มีตราสินค้าและไม่มี
ช่องทางจำหน่ายหลายตลาด จึงมีอำนาจในการต่อรองราคาต่ำ
- สินค้าเนื้อไก่สด ไม่มีเอกลักษณ์ที่แยกความแตกต่างได้ชัดเจน ดังนั้นผู้บริโภคจึงสามารถเลือกซื้อสินค้า
เนื้อไก่ได้จากหลายยี่ห้อ โดยเปรียบเทียบกับสินค้าที่มีราคาน้อยกว่าในการตัดสินใจซื้อเป็นสำคัญ
- ประเทศผู้นำเข้าสินค้าเนื้อไก่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการอนุญาตการนำเข้าสินค้าเนื้อไก่ เพราะบริษัทผู้
ส่งออกจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตไก่เพื่อส่งออก ภายหลังจากได้รับการตรวจสอบสถานที่ผลิตแล้ว
- ผู้บริโภคเป็นผู้มีอิทธิพลโดยตรงต่อการกำหนด กฎ ระเบียบ มาตรการ สุขอนามัยด้านอาหาร โดยเฉพาะ
ในช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก เช่น ผู้จำหน่ายเนื้อไก่ต้องเผยแพร่ข้อมูลแนะนำการบริโภคไก่อย่างปลอดภัย
รวมถึงระบุแหล่งผลิตไก่บนบรรจุภัณฑ์ให้ผู้บริโภคได้รับทราบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
- การส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทย ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขที่ประเทศผู้ซื้อเป็นผู้กำหนด อาทิเช่น
ประกาศห้ามนำเข้าไก่และผลิตภัณฑ์จากประเทศที่ยังไม่ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรค
ไข้หวัดนก ยกเว้นไก่แปรรูปปรุงสุกจากโรงงานที่ได้รับการรับรองจากเจ้าหน้าที่จากประเทศผู้นำเข้า เช่น ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป

หมายเหตุ : เครื่องหมาย + หมายถึง ปัจจัยที่เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทย
เครื่องหมาย - หมายถึง ปัจจัยที่เป็นผลเสียต่ออุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทย

การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis)

สรุปการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและการแข่งขัน

1.หลักการในการวิเคราะห์อุตสาหกรรมและการแข่งขันในภาพรวมการวิเคราะห์อุตสาหกรรมมีหลักการสรุปได้ดังนี้

กำหนดนิยามหรือขอบเขตของอุตสาหกรรม: การกำหนดขอบเขตของอุตสาหกรรมจะต้องระบุให้ได้ว่าสินค้า/บริการในอุตสาหกรรมนั้นๆคืออะไร และมีสิ่งใดบ้างที่อาจเป็นสินค้า/บริการของอุตสาหกรรมอื่นด้วย รวมถึงการกำหนดขอบเขตการแข่งขันเชิงภูมิศาสตร์ว่าอยู่ในระดับประเทศ ภูมิภาคเดียวกัน หลายภูมิภาค หรือทั้งโลก สิ่งที่ต้องระวังคือการกำหนดขอบเขตของอุตสาหกรรมที่แคบหรือกว้างเกินไป อันจะทำให้เกิดภาพที่บิดเบือนในการวิเคราะห์ตามมา ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง (Construction Industry) อาจจะหมายรวมถึง การก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ และโครงการสาธารณูปโภค (ถนน ทางรถไฟ พลังงาน ท่าเรือ ระบบประปา/น้ำเสีย) รวมกัน หรือเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอันที่จริงแล้วโครงสร้างของอุตสาหกรรมก่อสร้างทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันอย่างมาก

การระบุและจำแนกกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม: ต้องระบุให้ได้ว่าในอุตสาหกรรมมีใครเกี่ยวข้องบ้าง (Industry Participants) และจำแนกออกเป็น 5 กลุ่ม คือ ผู้ซื้อ ผู้ผลิตวัตถุดิบ คู่แข่ง สินค้า/บริการทดแทน และคู่แข่งขันรายใหม่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่เป็นผู้นำอยู่ในปัจจุบัน) ซึ่งการวิเคราะห์ในหัวข้อนี้จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องจากการกำหนดขอบเขตอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ จะมีผู้เกี่ยวข้องและอุตสาหกรรมมากกว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ทั่วๆไป กล่าวคือ “ผู้ผลิต” จะรวมถึงสถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะในระบบสาธารณูปโภคแต่ละด้าน “ผู้ซื้อ” จะประกอบไปด้วยภาครัฐ บริษัทเอกชน และประชาชนทั่วไป “คู่แข่ง” ก็มักจะเป็น International Contractors ที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงมากกว่า Domestic Contractors เป็นต้น

ทั้งนี้ ปัจจัยทั้ง 5 กลุ่มดังกล่าวเป็น Five Competitive Forces หลักในการวิเคราะห์โครงสร้างอุตสาหกรรม ที่จะต้องประเมินให้ได้ว่า “อะไรเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อน Competitive Forces แต่ละตัว และ Competitive Forces แต่ละตัวมีระดับความเข้มแข็งหรืออ่อนแออย่างไร”

การวิเคราะห์โครงสร้างอุตสาหกรรม: ในการวิเคราะห์โครงสร้างอุตสาหกรรมใดๆ จะต้องหาให้ได้ว่า Life Cycle ของอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร (ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคจะต้องมองภาพในระยะยาวไม่ใช่โครงการเดียวจบ เพราะต้นทุนเริ่มต้นสูงมาก และมีรูปแบบการทำกำไรแตกต่างกัน) ระดับการทำกำไรของอุตสาหกรรมเป็นเท่าไร เพราะความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรมแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน นอกจากนั้น จะต้องวิเคราะห์ว่าอะไรคือปัจจัยที่ควบคุมความสามารถในการทำกำไร (ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างสาธารณูปโภคมักจะมี “สัมปทาน” เป็นตัวควบคุม) มีคู่แข่งที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันหรือไม่ (Multinational Contractors ที่มีเงินทุนและทรัพยากรมากจะมีความได้เปรียบในการประมูลงานก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภค เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง)

การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต: ในการวิเคราะห์ต้องให้ความสำคัญทั้งกับสภาวะปัจจุบันและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ Competitive Forces แต่ละตัวในอนาคต ทั้งที่เป็นเชิงลบและบวก ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคปัจจุบันรัฐบาลอาจเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด โดยบริษัทเอกชนเป็นเพียงผู้เข้าไปรับจ้างก่อสร้าง แต่ในอนาคตรัฐบาลอาจเปลี่ยนนโยบายเป็น Public-Private Partnerships (PPPs) และส่งเสริมให้เกิดการลงทุนของเอกชนแบบ Build-Operate-Transfer (BOT) หรือ Build-Own-Operate-Transfer (BOOT) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของบริษัทอย่างมากถ้าไม่มีการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า

ข้อพึงระวังในการวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่จะนำไปสู่ความผิดพลาดในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย
(1) การกำหนดขอบเขตของอุตสาหกรรมกว้างหรือแคบเกินไป
(2) การวิเคราะห์เพียงผิวเผิน
(3) การให้ความสำคัญเท่าๆกันในทุกด้าน แต่ละเลยที่จะทำการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งในประเด็นที่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคแบบ BOOT จะต้องให้ความสำคัญกับนโยบาย Tariff System ของรัฐบาลมากเป็นพิเศษ เพราะจะเป็นผลตอนแทนการลงทุนในระยะยาวของบริษัท
(4) การละเลยที่จะวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
(5) การไม่เข้าใจใน Life Cycle ของอุตสาหกรรม

2.เทคนิคการวิเคราะห์การแข่งขันและการวางกลยุทธ์ของกิจการด้วย “Porter’s Five Forces”

“Porter’s Five Forces” เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์โครงสร้างและสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรม โดยมีปัจจัยหลักที่วิเคราะห์ 5 ปัจจัย ได้แก่ (1) ความรุนแรงของสภาวะการแข่งขันระหว่างองค์กรธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน (2) ข้อจำกัดในการเข้าสู่อุตสาหกรรมของคู่แข่งขันใหม่ (3) การมีสินค้า/บริการที่ทดแทนกันได้ (4) อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ และ (5) อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบ การวิเคราะห์โดยใช้ Five Forces จะช่วยให้เข้าใจสภาพการแข่งขันและการทำกำไรของอุตสาหกรรมที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม โดยทั่วไปหากพบว่ามีแรงกดดันสูงจาก Five Forces อย่างในกรณีของอุตสาหกรรมสายการบิน สิ่งทอ และโรงแรม กิจการมักมีกำไรหรือผลตอบแทนการลงทุนต่ำ ในทางกลับกัน หากแรงกดดันจาก Five Force อยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำอย่างในอุตสาหกรรม Software และผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลม กิจการมักมีกำไรค่อนข้างดี

การเข้าใจถึงอิทธิพลที่ Five Forces มีต่อการทำกำไรของอุตสาหกรรมจะช่วยในการพัฒนากลยุทธ์ของกิจการเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการทำกำไรของกิจการในระยะยาวยกตัวอย่างเช่น (1) การวาง Position ของกิจการให้อยู่ในตำแหน่งที่มีแรงกดดันจาก Five Forces ต่ำ (ตัวอย่างเช่น การเข้าไปในอุตสาหกรรมก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล (Desalination System) ที่ต้องใช้ทั้งเทคโนโลยีขั้นสูงและเงินลงทุนที่สูงมากทำให้มีคู่แข่งน้อยและลูกค้ามีอำนาจต่อรองต่ำ) (2) การอาศัยจังหวะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมอันเกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนโยบายของรัฐบาล ในการวางตำแหน่งทางการแข่งขันใหม่ๆที่มีศักยภาพสูงกว่าเดิม (ตัวอย่างเช่น การใช้ประโยชน์จาก FTA และการเปลี่ยนแปลงนโยบาย FDI เข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง) และ (3) การเข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน Five Forces เพื่อให้ส่งผลดีต่อกิจการ ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่สั่งจาก Suppliers เจ้าต่างๆเพื่อลด Switching Cost และอำนาจต่อรองของ Supplier การเพิ่มการลงทุนใน R&D เพื่อทำให้สินค้ามีความแตกต่างและปกป้องตลาดจากคู่แข่งขันรายใหม่ หรือการป้องกันผลกระทบจากสินค้าทดแทนด้วยการกระจายสินค้าให้ผู้บริโภคซื้อหาได้ง่ายที่สุด เป็นต้น

3.ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ความสามารถในการแข่งขันของประเทศขึ้นอยู่กับผลิตภาพ (Productivity) อันเป็นผลจากความสามารถในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรบุคคล เงินทุน และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศ ในการที่จะมีรายได้เข้าประเทศมากนั้นจะต้องมี Productivity สูงเป็นเงื่อนไขเริ่มต้น

ปัจจุบันสภาวะแวดล้อมของการแข่งขันระหว่างประเทศกำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยสังเกตได้จาก(1) ข้อจำกัดทางการค้าและการลงทุนถูกทำให้ลดลงหรือขจัดไปจากการเกิดขึ้นของ Multilateral และ Bilateral Agreements ต่างๆ (2) การเกิด Globalization ของตลาดสินค้า/บริการและ Value Chains (3) การเปลี่ยนจาก Vertical Integration ของกระบวนการผลิตเป็นการพึ่งพา Suppliers, Partners และสถาบันต่างๆ (4) การแข่งขันต้องใช้ความรู้และทักษะความชำนาญเพิ่มสูงขึ้น และ (5) ประเทศและภูมิภาคต่างๆ แข่งขันกันเพื่อเป็นที่ตั้งของธุรกิจที่มี Productivity สูงที่สุด

The Diamond Modelในการวางกลยุทธ์การแข่งขันข้ามพรมแดนต้องคำนึงถึง (1) ปัจจัยด้านที่ตั้ง (Location) และ (2) ความได้เปรียบในการแข่งขันที่เป็นผลจากความร่วมมือข้ามพรมแดนหรือ Global Networks โดยมีเครื่องมือที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบของ Location ที่มีต่อความสามารถในการแข่งขันคือ Diamond Model ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์ทั้งปัจจัยที่เป็นบวกและลบออกเป็น 4 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ปัจจัยและเงื่อนไขที่เป็น Input ของการพัฒนาอุตสาหกรรม (Factor Conditions) ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน เงินทุน ระบบสาธารณูปโภค, (2) อุปสงค์ของสินค้า/บริการ (Demand Conditions), (3) อุตสาหกรรมที่สนับสนุนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และ (4) กลยุทธ์ของบริษัท โครงสร้างอุตสาหกรรม และคู่แข่ง และมีปัจจัยภายนอกเพิ่มเติมอีก 2 ปัจจัย คือ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต และกฎระเบียบและนโยบายของรัฐที่เกี่ยวโยงกับองค์ประกอบหลักทั้งสี่ด้าน