ข่าวการเงิน - การลงทุน

05 June 2008

ข้อมูลพื้นฐาน HANA

HANA

ธุรกิจของบริษัท
ประกอบและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนย่อย และผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูปขนาดเล็ก โดยมีผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ PCBA , IC , CAPTIVE LINES และ MICRODISPLAY

1. ผลิตภัณฑ์ IC – มีโรงงานที่จังหวัดอยุธยาและโรงงานเจียซิงเป็นฐานการผลิต โดยผลิตภัณฑ์ IC ใช้ในอุตสาหกรรมโทรคม 35% ใช้ในภาคอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ 13% และที่เหลือใช้ในอุตสาหกรรม ผลิตสินค้าอุปโภค(customer product) 52% เช่น optical mouse , DC-DC convertor , LGA , VSOP , SOT5x3
2. ผลิตภัณฑ์ประเภท CAPTIVE LINES – ใช้ในอุปกรณ์ทางแสง เช่น LED และรวมถึงอุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลผ่าน Fiber Optic
3. ผลิตภัณฑ์ประเภทแผ่นวงจรพิมพ์ (PCBA) - การประกอบ PCBA เป็นการประกอบ IC และ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ลงบน PCB โดยอาศัยเทคโนโลยี SMD (Surface Mount Device) และเครื่องจักร Pick and Place ซึ่งมีความแม่นยำสูง เช่น Chip on Board , Wireless Radio Freq. เป็นต้น
4. ผลิตภัณฑ์ประเภท MICRODISPLAY - ผลิตภัณฑ์ LCoS (Liquid Crystal on Silicon) ซึ่งใช้เป็นชิ้นส่วนประกอบจอภาพโทรทัศน์ขนาดใหญ่ จอภาพคอมพิวเตอร์ , RFID

กลยุทธการตลาด - ให้แก่ลูกค้าโดยตรง โดยประมาณร้อยละ 30 ของยอดขายส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 10 ของยอดขายส่งออกไปยัง ยุโรป และ ร้อยละ 60 ของยอดขายส่งออกไปยังประเทศในแถบเอเชีย มากกว่าร้อยละ 50 ของลูกค้าที่มีสํานักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติที่มีชื่อเสียง เช่น Fairchild Semiconductor, Avago Technologies, Texas Instrument, International Rectifier, Assa Abloy เป็นต้น

ภาวะการณ์แข่งขัน - ในประเทศไทย มีเพียงไม่กี่บริษัทที่ทำธุรกิจเช่นเดียวกับฮานา เช่น Benchmark, Celestica, SVI, Calcomp ส่วนคู่แข่งในตลาดโลกของฮานา ได้แก่ Flextronics, Solectron, Plexus, Pemstar, MPI, Unisem, Amkor, ASE, ASAT โดยบริษัทมีความแตกต่างจากคู่แข่งคือ มุ่งเน้นประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ประเภท Microelectronics ขณะที่บริษัทคู่แข่งรายอื่นเน้นการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป (Box build assembly) ในแวดวงอุตสาหกรรมการผลิต ในตอนนี้ฮานาเป็น 1 ใน 50 บริษัทรับจ้างผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลก และการเปิดโรงงานใหม่ที่จีนทำให้ได้เปรียบในเรื่องต้นทุนแรงงานที่ต่ำ

ภาวะอุตสาหกรรม - ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกในปี 2550 เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ยอดขายที่ทำสถิติได้สูงขึ้นเนื่องจากความต้องการในตัวสินค้าที่สูง อย่างเช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โทรศัพท์มือถือ และเครื่องใช้อุปโภคอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนประกอบยังแข็งแกร่งในปี 2550 โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้ผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนประกอบถึงร้อยละ 40 เติบโตขึ้นร้อยละ 13.8 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 12.2 ในปี 2551 และการสินค้าอุปโภคในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อย่างเครื่องเล่น MP3 จอภาพ LCD และกล้องถ่ายรูปดิจิตอลที่มียอดขายเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 20 ซึ่งส่งผลดีต่อยอดขายเซมิคอนดักเตอร์

วัตถุดิบที่สำคัญ – หลักๆ คือ แผ่น WAFER และอื่นๆ คือ ปิโตรเคมี , ทองคำ ซึ่งทั้งหมดเป็นการนำเข้า 100% ทั้งนี้มีการป้องกันปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบโดยมีการหาแหล่งผู้จำหน่ายสำรองหลายๆแห่ง และสร้างสัมพันธภาพระยะยาวกับผู้จำหน่าย

การจ่ายปันผล – ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 30

ปัจจัยเสี่ยง
1. ความเสี่ยงทางธุรกิจ - ฮานามีปัจจัยความเสี่ยงที่ความสำคัญ คือการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสาระสำคัญในกลุ่มฐานลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งอาจเป็นผลให้ยอดสั่งซื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
2. ความเสี่ยงทางการผลิต – คือ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีอยู่ล้าสมัยได้ แต่เทคโนโลยีการผลิต PCBA และการประกอบ IC ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเร็วมากนัก จึงไม่น่าเป็นห่วง
3. ความเสี่ยงทางการเงิน - เนื่องด้วยบริษัทฯ และบริษัทย่อยมียอดขายกว่าร้อยละ 95 อยู่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่วัตถุดิบกว่าร้อยละ 95 เป็นวัตถุดิบที่นำเข้าทั้งทางตรงและทางอ้อมในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเช่นเดียวกัน ดังนั้นต้นทุนหลักของบริษัทฯ และบริษัทย่อย จึงได้รับ การป้องกันความเสี่ยงโดยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม เงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่นๆถูกจ่ายในรูปสกุลเงินบาทและเงินหยวน ดังนั้นการแข็งค่าของเงินบาทต่อเงินสกุลเหรียญสหรัฐ และการแข็งค่าของเงินหยวนต่อเงินสกุลเหรียญสหรัฐ อาจส่งผลกระทบต่อผลกำไรของกลุ่มฮานา ดังนั้นกลุ่มบริษัทฯได้ดำเนินการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า และทำการต่อสัญญาทุกๆ 3-6 เดือน
4. ความเสี่ยงจากลูกหนี้การค้า - เนื่องจากยอดขายกว่าร้อยละ 95 ของบริษัทฯและบริษัทย่อยเป็นการขายโดยที่ลูกค้าชำระเงินโดยตรงให้แก่บริษัทฯ โดยไม่มีหลักประกัน บริษัทฯจึงอาจมีความเสี่ยงจากลูกหนี้การค้าได้ แต่ในอดีตที่ผ่านมา บริษัทฯไม่เคยประสพปัญหาหนี้สูญอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องด้วยลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทฯ จะเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทย่อยของบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศที่มีความมั่นคงทางการเงิน

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

S.W.O.T. ANALYSIS

Strength (จุดแข็ง)
1. เป็นธุรกิจครบวงจรบนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2. ต้นทุนค่าจ้างแรงงานต่ำ
3. มุ่งเน้นประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ประเภท Microelectronics แตกต่างจากคู่แข่ง
4. ฐานะการเงิน และกระแสเงินสด แข็งแกร่งมาก
5. ลูกค้าเป็นบริษัทระดับโลก มีความมั่นคงทางการเงินสูง
6. มีฐานลูกค้ากระจายอยู่หลายประเทศ ทั้งอเมริกา ,ยุโรป และเอเซีย

Weakness (จุดอ่อน)
1. วัตถุดิบต้องนำเข้า 100% ทำให้ไม่สามารถควบคุมราคา และปริมาณได้
2. ความเสี่ยงต่อปัญหาค่าเงินบาท เนื่องจากรายได้เป็นสกุลเงิน สหรัฐอเมริกามากถึง 95%
3. ความเสี่ยงจากลูกหนี้การค้า เนื่องจากไม่มีการประกันการชำระเงิน

Opportunity (โอกาสจากปัจจัยภายนอก)
1. ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นที่สูงในตัวสินค้า อย่างเช่น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่น MP3 จอภาพ LCD และกล้องถ่ายรูปดิจิตอล
2. ยอดสั่งซื้อจากลูกค้ารายใหม่

Threat (ความเสียเปรียบจากปัจจัยภายนอก)
1. เศรษฐกิจในประเทศหดตัว และปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา อาจมีผลต่อยอดสั่งซื้อ
2. การเมืองในประเทศยังไม่นิ่ง
3. บริษัทมีข้อพิพาดอยู่ 1 คดีซึ่งหากแพ้จะต้องเสียค่าปรับ 1 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา



วิเคราะห์แบบหยาบๆ
1. ROE มีค่าสูง
2. ROA มีค่าสูง
3. กำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. หนี้สินเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ และส่วนผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับต่ำ
5. เป็นธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ทำให้มีการกระจายความเสี่ยงจากยอดสั่งซื้อได้ดี
6. ไม่มีปัญหาด้านแรงงาน และต้นทุนแรงงานต่ำ
7. กำไรสะสมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในปี 50 เพิ่มขึ้น 23%

Ex 1. ส่วนของผู้ถือหุ้น=11,290.85 ล้านบาท, ROE = 23.15% , ทุนจดทะเบียน = 830.41 ล้านหุ้น ,
PE เฉลี่ย 10 ปี = 8 , Growth เฉลี่ย 10 ปี = 9%
Sol.^ ส่วนของผู้ถือหุ้น ปี 51 = 11,290.85 + (9/100 x 11,290.85) = 12,307.02 ล้านบาท
กำไรสุทธิ ปี 51 = 23.15 /100 x 12,307.02 = 2849.07 ล้านบาท
กำไรสุทธิต่อหุ้น ปี 51 = 2849.07/ 830.41 = 3.4309 ล้านบาท
ราคาที่แท้จริง ปี 51 = 3.4309 x 8 = 27.447 บาทต่อหุ้น --------------------- #
ซื้อที่ MOS 20% = 27.447 – (20/100 x 27.447) = 21.9 บาทต่อหุ้น --------------------- #