ข่าวการเงิน - การลงทุน

26 July 2008

ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจสหรัฐ

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ

เป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่แสดงการเจริญเติบโต ถดถอย หรือชี้ให้เห็นภาคการลงทุนภายในประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเราจำเป็นต้องติดตามอัพเดตข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาผลกระทบกับประเทศไทย รวมถึงตลาดหุ้นไทย

• ดุลบัญชีเดินสะพัด โดย กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ
• ผลสำรวจภาคการผลิต โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ
• ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย โดยสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติสหรัฐฯ
• ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน และ การขออนุญาตก่อสร้าง โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ
• ตัวเลขสต๊อกน้ำมันรายสัปดาห์ โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ
• จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐ
• จีดีพี (GDP) โดย กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ
• ดัชนีการผลิตทั่วประเทศ โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ
• ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ โดย Conference Board
• ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจ โดย ธนาคารกลางสหรัฐฯ
• รายได้ส่วนบุคคล โดยกระทรวงพาณิชย์
• ดัชนีความเชื่อมั่นขั้นสุดท้าย โดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน
• ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI และ CPI พื้นฐาน โดย ธนาคารกลางสหรัฐฯ
• ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิต โดยกระทรวงพาณิชย์

ปัจจัยชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอย
อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และอัตราการใช้จ่ายผู้บริโภคลดลง รวมถึงตัวเลข จีดีพี สหรัฐลดลง และการจ้างงานของบริษัทต่างๆ ที่ลดลง เห็นได้ชัดว่าการลงทุนภายในประเทศสหรัฐฯลดลง สิ้นค้าแพงขึ้น คนว่างงานมากขึ้น การใช้จ่ายเงินของคนสหรัฐฯลดลง ส่งผลให้การนำเข้าลดลง

การที่เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยแบบนี้ กระทบกับเศรษฐกิจของประเทศไทยด้านการส่งออก และค่าเงินบาท การส่งออกลดลงเนื่องจากสหรัฐฯเป็นประเทศนำเข้าสินค้าจากเอเชียมากที่สุด ดังนั้นดุลการค้าลดลงเรื่อยๆ จนขาดดุลในที่สุด

ภาวะแบบนี้จะคลี่คลายได้ก็ต่อเมื่อมีนโยบายของสหรัฐฯใหม่เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น Fed ทำการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการลงทุน ขยายการจ้างงานในภาครัฐ เป็นต้น

ปัจจัยชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ช่วงเจริญรุ่งเรือง
ทั้งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญๆ โดยนอกเหนือจากจีดีพี ยังรวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอลงเล็กน้อย 1-2% และอัตราการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนสูงขึ้น 40-70% ในจีดีพีสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1-2% ขณะที่ การจ้างงานของบริษัทต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น และอาจนับรวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นทำให้ค่าเงินดอลล่าแข็งขึ้นอย่างมาก

ภาวะแบบนี้จะส่งผลดีกับประเทศไทยในภาคการส่งออก การเติบโตของสหรัฐฯทำให้ต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมากเช่น ผลผลิตทางการเกษตร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น แม้อาจจะพบสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากการที่นักลงทุนถอนเงินกลับไปลงทุนที่ประเทศของตนเองบ้างก็ตาม

เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มอิ่มตัว อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯจะสูงขึ้น ทาง Fed ก็จะทำการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดการลงทุน ลดภาวะเงินเงินเฟื้อ เป็นต้น

0 Comments: