ข่าวการเงิน - การลงทุน

12 August 2008

หุ้นวัฐจักร

แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ครับ

1 หุ้น commodity cyclical หุ้นประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์หรือ commodity ซึ่งสินค้าจะหน้าตาเหมือนกัน ทำให้ผู้ผลิตเกือบทุกรายจะต้องขายสินค้าหรือบริการที่ราคาเดียวกัน ได้แก่ เหล็ก ปิโตรฯ น้ำมัน ถ่านหิน เรือ แร่ธาตุ ฯลฯ หุ้นประเภทนี้จะมี cycle ขึ้นลงตาม demand supply ของอุตสาหกรรม ซึ่งมีปัจจัยด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเข้ามาเกี่ยวข้องในด้าน demand และมีปัจจัยด้านการเพิ่มหรือลดการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ของโลกซึ่งเป็นตัวกำหนด supply ดังนั้นผู้ศึกษา cycle ของธุรกิจจะต้องวิเคราะห์ให้ถูกทั้งด้าน demand และ supply ถูกด้านเดียวไม่พอครับ

2 หุ้น economic cyclical หุ้นประเภทนี้แม้จะไม่ได้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ แต่สินค้าหรือบริการนั้นมีความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจสูง เพราะอาจจะเป็นสินค้าที่ไม่ได้จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตนักหรือพอจะชะลอการซื้อได้ หรือ/และ สินค้าของผู้ผลิตเหล่านี้แม้ไม่ได้เป็น commodity ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนักและลูกค้าพร้อมจะ switching จากยี่ห้อหนึ่งไปอีกยี่ห้อ ทำให้เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจึงมีการตัดราคากัน หรือเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนคงที่สูงมากทำให้การลดลงของรายได้ใกล้เคียงกับกำไรที่จะลดลง หุ้นกลุ่มนี้ เช่น รถยนต์ อสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง อิเลคทรอนิกส์ รวมไปถึงหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน คือ ธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์

การวิเคราะห์หุ้น economic cyclical นั้น ต้องอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคสูงครับ เพราะยอดขายของหุ้นกลุ่มดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับนักลงทุนอย่างเราที่จะไปทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศ ที่ปัจจุบันมีตัวแปรในอนาคตที่คาดการณ์ยากจำนวนมาก เช่น การเมือง ราคาน้ำมัน เศรษฐกิจประเทศสำคัญๆ เช่น สหรัฐ จีน

หุ้น cyclical ทั้งสองประเภทนั้น ดู p/e เป็นหลักไม่ได้ครับ โดยเฉพาะหุ้น commodity cyclical หุ้นเหล่านี้ แม้ p/e ต่ำมาก ก็จะใช่ว่าถูกเสมอไป หรือช่วงที่ p/e สูงก็ไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป เช่น หากธุรกิจกำลังอยู่ช่วง peak หุ้นประเภท cyclical มักจะมีกำไรที่สูงมากทำให้ p/e ต่ำ แต่เมื่อธุรกิจเข้าสู่ขาลงกำไรจะลดลงแรงมากหรือถึงขั้นขาดทุน

ดังนั้น สำหรับนักลงทุนที่เป็นมือใหม่ หรือเป็นนักลงทุนที่มีงานประจำค่อนข้างยุ่งและไม่มีเวลาศึกษามากนัก ผมจึงแนะนำให้ดูหุ้นกลุ่มที่เป็น non-cyclical เป็นหลัก ซึ่งจะปลอดภัยกว่าและวิเคราะห์ง่ายกว่าครับ

และผมเองมีความเชื่อว่า สำหรับตลาดหุ้นเมืองไทยนั้น หุ้นวัฏจักรเป็นหุ้นที่ทำกำไรได้มากที่สุด ซึ่งต่างจากตลาดหุ้นยุโรปหรืออเมริกา ที่บ้านเขานั้นหุ้นเติบโตจะเป็นหุ้นที่ทำกำไรในระยะยาวได้มากที่สุด สาเหตุก็เป็นเพราะบริษัทในบ้านเขานั้น ถ้าเก่งจริงและเติบโตจริง เขาสามารถเติบโตได้ทั่วโลก แต่บ้านเราหาบริษัทที่โตได้ทั่วโลกยากมาก โตสุดๆคือโตเต็มประเทศก็ถือว่าเก่งมากแล้ว การเล่นหุ้นเติบโตในเมืองไทยจึงสู้เล่นหุ้นวัฏจักรไม่ได้

วิธีค้นหาหุ้นวัฏจักร

เมื่อก่อนผมใช้วิธีอ่านหนังสือพิมพ์ไปเรื่อยๆ เคยเจอข่าว "ค่าระวางเรือสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์" ข่าวแบบนี้ก็จะช่วยให้เราสะดุดตาและเริ่มให้ความสนใจ ผมยังเคยเจอข่าว "วัสดุก่อสร้างขาดตลาดอย่างหนัก ผู้รับเหมาร้องขอเลื่อนส่งงาน" ข่าวแบบนี้ก็จะทำให้เราเริ่มสนใจวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น แต่ปัจจุบันนี้ ผมคิดว่าการใช้วิธีเดิมๆจะค่อนข้างช้า หมายความว่าเรารู้ตอนที่ใครๆก็รู้ และรู้กันทั้งประเทศแล้ว และราคาหุ้นมักจะปรับตัวกันไปบ้างแล้วแม้บางตัวอาจจะแพงไป บางตัวอาจจะยังถูก แต่ก็ถือว่าช้าอยู่ดี ปัจจุบันนี้เราจึงต้องดักหน้าก่อน พยายามมองให้ออกก่อน เราถึงจะได้เปรียบแบบมากๆหน่อย
จากการศึกษา วิธีที่จะดักหน้ากลุ่มนี้เราควรจะรู้เสียก่อนว่ากลุ่มนี้ทั้งหมดนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เท่าที่ดูๆผมจะแบ่งกลุ่มเพื่อให้สังเกตุง่ายๆพร้อมคุณสมบัติและโทษสมบัติแต่ละกลุ่มดู

วัฏจักรแบบท้องถิ่น หมายถึงในประเทศครับ เช่น อสังหา วัสดุก่อสร้าง ยานยนต์ หลักทรัพย์ โรงพยาบาล
- ความถี่ เกิดขึ้นได้บ่อยๆ วงจรสั้น ความรุนแรงน้อย
- ขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้อเงินฝืดในประเทศ
- ความแม่นยำในการพยากรณ์ มีน้อย เพราะขึ้นกับทำเล อุปสงค์/อุปทาน ในประเทศด้วย และการเปลี่ยนแปลงใดๆมีผลกระทบต่อการพยากรณ์มาก

วัฏจักรสากล เช่น เดินเรือ โลหะ กระดาษ ปิโตรเคมี หลักทรัพย์
- ความถี่ วงจรค่อนข้างยาว เกิดขึ้นนานๆครั้ง ความรุนแรงมาก(ได้กำไรมาก อิอิ)
- ขึ้นกับสัดส่วนอุปสงค์/อุปทานของโลก
- ความแม่นยำในการพยากรณ์ มีมาก เพราะไม่ขึ้นกับทำเล ไม่ขึ้นกับอุปสงค์/อุปทานในประเทศนัก และการเปลี่ยนแปลงใดๆมีผลกระทบต่อการพยากรณ์น้อย เพราะตลาดโลกมีขนาดใหญ่มาก

ปล. กลุ่มหลักทรัพย์นั้นผมจัดให้อยู่ทั้งสองกลุ่มเพราะคิดว่าไม่ตรงกับอันใดอันหนึ่งเสียทีเดียว ส่วนกลุ่มยานยนต์นั้นอาจจะเริ่มเข้าสู่กลุ่มที่สองถ้าสัดส่วนการส่งออกค่อยๆสูงขึ้นอย่างในปัจจุบัน

วิธีเลือกจังหวะซื้อขาย

ปีเตอร์ ลินช์ เคยบอกว่าให้ซื้อตอน p/e สูงๆ และขายตอน p/e ต่ำๆ หลักการอันนี้ดูจะกลับตาลปัตรกับหุ้นเติบโตหรือแม้แต่หุ้นทั่วๆไป แต่เป็นเรื่องจริงครับ
แต่ถ้าเรายึดตามตัวอักษรเป๊ะๆ เราอาจจะไปซื้อตอนช่วงกลางๆของวัฏจักรก็ได้ เพราะช่วงนั้น p/e ก็สูงเช่นเดียวกัน และถ้าวัฏจักรเต็มๆมีระยะเวลา 20 ปี เราก็ต้องรอตั้งสิบปีกว่าจะถึงขาขึ้น รอกันจนหน้าเหี่ยวพอดีและก็เสียโอกาสในการทำเงินไม่ใช่น้อยๆเรย......จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมเสียหน่อย

ผลการศึกษา พบว่า
1. เราใช้วิธีดักหน้าไว้ก่อนเลย เช่นเรารู้วงจรของธุรกิจว่าใช้เวลากี่ปีๆ เราก็คำนวณไปล่วงหน้าว่าอีกกี่ปีจึงจะถึงรอบขาขึ้น แล้วเราก็จ้องตลอดว่ามัน “ใช่ ” หรือยัง
2. สัญญาณที่บอกว่า “ใช่ ” ก็เช่น บริษัทเริ่มได้กำไรมากขึ้น และมากขึ้นอย่างชัดเจนด้วยนะ
3. เช็คข่าวว่าบริษัทอื่นที่ทำธุรกิจคล้ายๆกัน ได้กำไรมากขึ้นเหมือนกันหรือเปล่า (ถ้าเป็นกลุ่มสากลมักจะได้กำไรไปด้วยกัน แต่ถ้าเป็นกลุ่มท้องถิ่นจะยากหน่อย อาจจะค่อยๆทยอยกันมาก็ได้)
4. เช็คยอดขาย อันนี้จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ร่วมกับสต็อคสินค้าเริ่มลดลง
5. เช็คบทวิเคราะห์ทั่วโลก(กลุ่มท้องถิ่นจะทำแบบนี้ไม่ได้ แต่กลุ่มสากลจะทำได้ง่าย และงานนี้จะไม่มีใครเป็น inside ตัวจริง ทุกคนจะพอๆกันเป็นการลดความเสียเปรียบ)
6. บทวิเคราะห์ที่ว่าอาจจะมีความคลาดเคลื่อน เพราะนักวิเคราะห์เองก็อาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อน(ระแวงไว้หน่อยก็ดีครับ) เขาอาจจะใช้ความเห็นมากกว่าข้อเท็จจริงก็ได้ หรืออาจจะใช้ข้อเท็จจริงแต่นำเสนอข้อเท็จจริงไม่หมด หรือจริงๆแล้วเจตนาบริสุทธิ์แต่รู้ไม่หมด ไม่รอบด้านพอ จึงต้องเช็คงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาด้วยจะเชื่อถือได้มากกว่า

03 August 2008

The Diamond Model

The Diamond Model

ในการวางกลยุทธ์การแข่งขันข้ามพรมแดนต้องคำนึงถึง (1) ปัจจัยด้านที่ตั้ง (Location) และ (2) ความได้เปรียบในการแข่งขันที่เป็นผลจากความร่วมมือข้ามพรมแดนหรือ Global Networks โดยมีเครื่องมือที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ผลกระทบของ Location ที่มีต่อความสามารถในการแข่งขันคือ Diamond Model ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์ทั้งปัจจัยที่เป็นบวกและลบออกเป็น 4 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ปัจจัยและเงื่อนไขที่เป็น Input ของการพัฒนาอุตสาหกรรม (Factor Conditions) ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน เงินทุน ระบบสาธารณูปโภค, (2) อุปสงค์ของสินค้า/บริการ (Demand Conditions), (3) อุตสาหกรรมที่สนับสนุนและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และ (4) กลยุทธ์ของบริษัท โครงสร้างอุตสาหกรรม และคู่แข่ง และมีปัจจัยภายนอกเพิ่มเติมอีก 2 ปัจจัย คือ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต และกฎระเบียบและนโยบายของรัฐที่เกี่ยวโยงกับองค์ประกอบหลักทั้งสี่ด้าน


ตัวอย่าง
ใน Diamond Model ที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ซึ่งได้แก่ (1) เงื่อนไขปัจจัยการผลิต (2) อุตสาหกรรมเชื่อมโยงและสนับสนุน (3) เงื่อนไขด้านอุปสงค์ และ (4) บริบทของการแข่งขันและกลยุทธ์ทางธุรกิจ

จากการศึกษาแบบ Top-down จากบนสู่ล่าง และ Bottom-up Approach กระบวนจากล่างขึ้นบน คณะทำงานได้พบประเด็นสำคัญ ที่ส่งผลกระทบทั้งในการสนับสนุน และเป็นอุปสรรค ต่อการสร้างความสามารถ ในการแข่งขันของไทย ซึ่งเป็นประเด็นพื้นฐานทั่วไป ที่พบทั้งในระดับของการศึกษาจากภาพรวม และจากการศึกษาระดับอุตสาหกรรม 5 อุตสาหกรรม ที่นำมาเป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้ สรุปได้ดังนี้

1) ด้านเงื่อนไขปัจจัยการผลิต
๐ ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะมี Bio-diversity สูง และมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติสวยงาม แต่เริ่มมีปัญหาการเสื่อมโทรมลง
๐ โครงสร้างพื้นฐานโดยทั่วไปอยู่ในระดับดี โดยเฉพาะถนน แต่ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ยังมีปัญหาด้านการกระจุกตัว ของเครือข่ายในเขตเมือง และราคาบริการที่สูง
๐ การศึกษา และคุณภาพของแรงงานไทยโดยทั่วไปต่ำ การผลิตแรงงาน ที่มีความสามารถเฉพาะ/ขั้นสูง ยังมีจำกัด และด้อยคุณภาพ และไม่สอดคล้อง กับความต้องการของอุตสาหกรรม
๐ ความสามารถทางเทคโนโลยีของธุรกิจไทย อยู่ในระดับต่ำ การวิจัยและพัฒนา (R&D) ยังใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้น้อย และมีปัญหาเรื่องกลไก และระบบการบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๐ ตลาดทุนยังอ่อนแอ ทำให้เอกชนส่วนใหญ่พึ่งพาตลาดเงิน ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินที่สูงของธุรกิจ

2) อุตสาหกรรมเชื่อมโยงและสนับสนุน
๐ การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการเชื่อมโยงเชิงกิจกรรม ในห่วงโซ่อุปทานตลอดสาย ของอุตสาหกรรมต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ แต่ในบางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมอาหาร ยังคงมีปัญหาของการเชื่อมโยงเชิงกิจกรรม ในทุกช่วงของห่วงโซ่อุปทาน
๐ ส่วนการเชื่อมโยงในเชิงความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) ก็ยังมีปัญหามาก ซึ่งพบได้ในอุตสาหกรรมทั้ง 5 กลุ่มที่ได้ศึกษา เนื่องจากการขาดกลไก ที่จะผลักดันให้เกิดความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ
๐ สถาบันเพื่อความร่วมมือของกลุ่มอุตสาหกรรม ได้มีการจัดตั้งอยู่บ้างแล้ว เช่น การรวมกลุ่มของธุรกิจ เป็นสมาคมการค้าต่างๆ แต่ส่วนใหญ่เน้นทำกิจกรรมวิ่งเต้น และเจรจาต่อรอง เพื่อผลประโยชน์ มากกว่าจะสนับสนุน การพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม ให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ส่วนสถาบันเฉพาะทางสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมยังคงอ่อนแอ และขาดศักยภาพ ที่จะเป็นแกนกลางในการสร้างความร่วมมือ ของอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม หลายสถาบันได้มีการริเริ่มกิจกรรมต่างๆ ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจให้กับสมาชิก รวมทั้งหลายแห่งได้มีการริเริ่มกิจกรรม การแลกเปลี่ยนข้อมูล การสร้างเครือข่ายธุรกิจ รวมทั้งประสานความร่วมมือ ระหว่างสถาบันการศึกษากับธุรกิจ ซึ่งจะเป็นรากฐาสำคัญของการพัฒนา และสร้างความเข้มแข็ง ให้กับเครือข่ายวิสาหกิจบ้างแล้ว

3) เงื่อนไขด้านอุปสงค์
๐ อุปสงค์ภายในประเทศของผู้บริโภคทั่วไป ยังคงมีความพิถีพิถันน้อย ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพ และมาตรฐานสินค้า และบริการเท่าที่ควร เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ มีการศึกษาน้อย และมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่ประนีประนอมสูง
๐ ปัจจัยผลักดันให้ธุรกิจปรับปรุงประสิทธิภาพ และมาตรฐาน ส่วนใหญ่มาจากอุปสงค์ของต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้เป็นปัจจัย ที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน เนื่องจากการพัฒนามาตรฐาน และคุณภาพได้ตามระดับสากลนั้น เป็นลักษณะที่ประเทศอื่นๆ สามารถที่จะเลียนแบบ และพัฒนาจนมีระดับเท่าเทียมกันได้
๐ มีจุดแข็งของอุปสงค์ภายในประเทศ ที่มีลักษณะเฉพาะในบางสินค้า เช่น รถปิกอัพ ซึ่งมีความพิถีพิถันสูง และมีศักยภาพ ในระดับที่ชี้นำอุปสงค์ของโลกได้
๐ อุปสงค์จากภาครัฐในฐานะผู้ซื้อรายใหญ่ของอุตสาหกรรม ยังขาดความพิถีพิถัน มุ่งเน้นราคาต่ำมากกว่าคุณภาพ จึงไม่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพ หรือผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น

4) สภาพแวดล้อมการแข่งขันและกลยุทธ์ธุรกิจ
๐ ระดับการเปิดกว้างต่อการแข่งขัน และการลงทุนจากต่างประเทศ มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจมีการแข่งขันกันมาก และผลิตภาพของธุรกิจสูงขึ้น
๐ การเปิดเสรียังล่าช้า อัตราภาษียังสูง ซับซ้อน และไม่สอดคล้องกับระดับการพัฒนาของแต่ละอุตสาหกรรม
๐ การบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้ายังมีปัญหา และไม่เอื้อต่อการสร้างบรรยากาศในการแข่งขันที่เป็นธรรม
๐ กลไกราชการขาดประสิทธิภาพ มีปัญหาคอรัปชั่น ซึ่งก่อให้เกิดภาระต้นทุนแก่ธุรกิจ ๐ บริษัทส่วนใหญ่แข่งขันบนพื้นฐานปัจจัยการผลิตราคาถูก และการตัดราคา และมีการลงทุน เพื่อการพัฒนาความสามารถ ในการแข่งขันในระยะยาวน้อย

Porter's Five Force

Porter's Five Force วิเคราะห์อุตสาหกรรมและการแข่งขัน

Michael E Porter's Five Forces เป็นหลักการประเมินธุรกิจรูปแบบหนึ่งครับ โดยหลักการนี้จะแบ่งการประเมิน 5 ทิศทางหรือ 5 ข้อคือ

1. ประเมินความสามารถของคู่แข่ง
ก็ต้องดูว่าคู่แข่งมีความสามารถแค่ไหน โดยอาจวิเคราะห์จาก SWOT ของคู่แข่งเทียบกับธุรกิจของตน
2. ความยากง่ายของเจ้าใหม่ที่จะเข้าตลาด
อุตสาหกรรมนี้รายใหม่เข้าได้ยากง่ายเพียงไร หากธุรกิจต้องใช้เงินลงทุนสูงมากๆ และมีข้อกำหนดหลายอย่างจะทำให้เป็นการยากที่รายใหม่จะเกิดขึ้น
3. อำนาจการต่อรองของ supplier
supplier มีอำนาจต่อรองมากน้อยเพียงไร ยิ่งบริษัทเราใหญ่มากเท่าไรอำนาจการต่อรองของ supplier ยิ่งน้อยลงเท่านั้น ยิ่ง supplier มีการแข่งขันกันสูง supplier ยิ่งมีอำนาจต่อรองน้อย
4. Buyer power
ผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองมากเพียงไร หากเป็นธุรกิจที่พึ่งพาลูกค้ารายใหญ่จะทำให้ผู้ซื้อมีอำนาจมากกว่าบริษัท ทำให้การขึ้นราคาสินค้าเป็นไปได้ยาก
5. สินค้าทดแทน
สินค้านี้มีสินค้าทดแทนได้มากน้อยเพียงไร และในอนาคตมีแนวโน้มจะมีสินค้าทดแทนหรือไม่ รวมถึงสินค้าในกลุ่มอื่นที่ไม่เคยขายแข่งในตลาดเดียวกัน เช่น กล้องถ่ายรูปที่จะถูกแทนที่ด้วยโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายภาพได้ ถึงแม้จะไม่สามารถแทนที่กันได้โดยสมบูรณ์แต่ก็เป็นคู่แข่งที่แย่งส่วนแบ่งตลาดกล้องถ่ายรูปได้มากทีเดียว

ตัวอย่าง
การวิเคราะห์ตามตัวแบบ Porter’s Five Force Model ในอุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทย


1. สภาพการแข่งขันระหว่างผู้แข่งขันรายเดิม (Rivalry among Firms)
􀂙 ภายในประเทศ
+ กระทรวงพาณิชย์ปรับลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง เกษตรกรผู้ผลิต
จึงขยายการเลี้ยงไก่มากขึ้น1 ส่งผลให้ผลผลิตไก่ออกสู่ตลาดปริมาณมาก การแข่งขันด้านราคาจึงเพิ่มขึ้น
- จำนวนโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการส่งออกจากประเทศคู่ค้ามีมากขึ้น ส่งผลให้การแข่งเพื่อ
ส่งออกทวีความรุนแรงขึ้น
- การแข่งขันการเลี้ยงไก่ในฟาร์มระบบปิดเพิ่มจำนวนขึ้น เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อแบบอิสระหันไป
เลี้ยงไก่เนื้อแบบประกันราคาและรับจ้างเลี้ยงมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก
- ผู้ผลิตมีการรวบกลุ่มกันเพื่อควบคุมการผลิต ในกรณีเกิดภาวะไก่ล้นตลาด
+ ธุรกิจโรงฆ่าและชำแหละไก่ ถูกควบคุมมาตรฐานการผลิตอย่างเข้มงวดโดยกรมปศุสัตว์ นับตั้งแต่เกิดการ
ระบาดของโรคไข้หวัดนก ทำให้โรงงานปรับปรุงมาตรฐานโรงฆ่าและชำแหละไก่ ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น

􀂙 ภายนอกประเทศ
+ จำนวนคู่แข่งในการส่งออกเนื้อไก่สดในตลาดโลกลดลง เนื่องจากเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกใน
ประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก ส่งผลดีต่อประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก
และเป็นโอกาสให้เกิดผู้ส่งออกรายใหม่ เช่น อาเจนติน่า
- ประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทยมีการแข่งขันด้านราคาอย่างเข้มข้น โดยใช้ความได้เปรียบด้านต้นทุนการ
ผลิตที่ต่ำกว่า
- เกิดการแข่งขันในสินค้าไก่แปรรูปปรุงสุกมากขึ้น เนื่องจากประเทศที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนก
หันมาผลิตสินค้าไก่ปรุงสุก เช่น ไทย และจีน

2. ด้านคู่แข่งรายใหม่ (Threat of New Entrants)
+ บราซิลผู้ส่งออกเนื้อไก่คู่แข่งในตลาดญี่ปุ่น เสียเปรียบด้านต้นทุนในการขนส่งเมื่อเทียบกับไทย เนื่องจาก
ระยะทางการขนส่งที่ห่างไกลกว่า
+ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย มีความเชื่อมั่นในระบบการผลิตและคุณภาพมาตรฐานสินค้าไทย เพราะมี
การพัฒนาร่วมกันมานาน
- การระบาดของโรคไข้หวัดนก ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่มีความพร้อมด้านเงินลงทุนสำหรับการ
เลี้ยงไก่เนื้อระดับฟาร์มแบบโรงเรือนปิดไม่กล้าลงทุนสำหรับเริ่มกิจการเลี้ยงไก่เนื้อเนื่องจากมีความเสี่ยงสูง
- การเปลี่ยนแปลงสายการผลิตจากไก่สดแช่เย็นแช่แข็งมาเป็นไก่แปรรูปปรุงสุก ถูกจำกัดด้วยปัจจัย
สนับสนุนด้านเงินทุน และกฎระเบียบ มาตรฐานการค้าของประเทศคู่ค้า
- สหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทยมีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ทวีความเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะ
มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Protocal) มาตรการสวัสดิภาพสัตว์ (Animal
Welfare) มาตรการสมุดปกขาว (White paper on food safety) และการกำหนดโควตานำเข้า

3. ด้านสินค้าทดแทน (Threat of Substitutes)
+ มีแนวโน้มว่าผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น มีการเปลี่ยนแปลงรสนิยมในการบริโภค
จากเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง (red meat) เช่น โค สุกร มาเป็นเนื้อสัตว์เล็ก (white meat) เช่น ไก่ เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคเชื่อว่า
มีความปลอดภัยมากกว่า
+ เนื้อไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับเนื้อหมู เนื้อวัว รวมทั้งมีแคลอรีต่ำ แนวโน้มการ
บริโภคในอนาคตจึงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่รักสุขภาพ
- มีเนื้อสัตว์ชนิดอื่นทดแทน เป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกเช่น เนื้อหมู วัว ปลา และอาหารทะเล นอกจากนี้ยัง
มีแหล่งโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง โปรตีนสกัดจากพืช (โปรตีนเกษตร) เป็นต้น
- มีสินค้าทดแทนสินค้าไก่แปรรูปหลายชนิดที่จำหน่ายในลักษณะร้านอาหารจานด่วน (Fast Food) และ
บางส่วนจะอยู่ในรูปอาหารไทยสำเร็จรูปแบบ ready to eat และ ready to cook ตามร้านสะดวกซื้อ
- เมื่อราคาไก่ของประเทศไทยสูงขึ้นประเทศคู่ค้าของไทย อาจหันไปซื้อไก่ของประเทศคู่แข่งของไทยได้
เพราะสินค้าไม่มีความแตกต่าง

4. ด้านอำนาจต่อรองของ Suppliers (Bargaining Power of Suppliers)
- จำนวนผู้จำหน่าย ไก่ ปู่-ย่า พ่อ-แม่ พันธุ์ไก่เนื้อมีจำนวนน้อยราย ประเทศไทยยังคงต้องพึ่งพิงการนำเข้า
ปัจจัยดังกล่าว จึงไม่สามารถกำหนดราคาได้เอง
- ประเทศไทยไม่สามารถผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมไก่เนื้อได้เองทั้งหมด จึงต้อง
นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ไทยจึงเสียเปรียบในด้านต้นทุนการผลิตประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เช่น บราซิล
สหรัฐอเมริกา
- ผู้ประกอบการที่จำหน่าย ยา และเวชภัณฑ์สัตว์เพื่อป้องกันและรักษาโรคระบาด เป็นผู้กำหนดราคาสินค้า
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวที่สำคัญในการกำหนดต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อ ถ้าต้นทุนการผลิตดังกล่าวสูง จะส่งผลต่อการ
กำหนดราคาขายสินค้าไก่เนื้อทำให้มีราคาสูง ทำให้ปริมาณการขายลดลง
อุตสาหกรรมไก่

5. ด้านอำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Buyers)
- ตลาดส่งออกไก่แปรรูปของไทยมีเพียง 2 ตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในสัดส่วนที่สูง
ประเทศดังกล่าวมีแหล่งนำเข้าไก่แปรรูปได้จากหลายแหล่ง ทำให้ไทยมีอำนาจในการต่อรองราคาต่ำ
- ลูกค้ามีอำนาจในการกำหนดสูตรและลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปตามที่ต้องการ ทำให้การ
ผลิตและส่งออกไก่แปรรูปของไทยยังเน้นที่การผลิตตามคำสั่งของลูกค้าแต่ละราย ประกอบกับไม่มีตราสินค้าและไม่มี
ช่องทางจำหน่ายหลายตลาด จึงมีอำนาจในการต่อรองราคาต่ำ
- สินค้าเนื้อไก่สด ไม่มีเอกลักษณ์ที่แยกความแตกต่างได้ชัดเจน ดังนั้นผู้บริโภคจึงสามารถเลือกซื้อสินค้า
เนื้อไก่ได้จากหลายยี่ห้อ โดยเปรียบเทียบกับสินค้าที่มีราคาน้อยกว่าในการตัดสินใจซื้อเป็นสำคัญ
- ประเทศผู้นำเข้าสินค้าเนื้อไก่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการอนุญาตการนำเข้าสินค้าเนื้อไก่ เพราะบริษัทผู้
ส่งออกจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตไก่เพื่อส่งออก ภายหลังจากได้รับการตรวจสอบสถานที่ผลิตแล้ว
- ผู้บริโภคเป็นผู้มีอิทธิพลโดยตรงต่อการกำหนด กฎ ระเบียบ มาตรการ สุขอนามัยด้านอาหาร โดยเฉพาะ
ในช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนก เช่น ผู้จำหน่ายเนื้อไก่ต้องเผยแพร่ข้อมูลแนะนำการบริโภคไก่อย่างปลอดภัย
รวมถึงระบุแหล่งผลิตไก่บนบรรจุภัณฑ์ให้ผู้บริโภคได้รับทราบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
- การส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทย ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขที่ประเทศผู้ซื้อเป็นผู้กำหนด อาทิเช่น
ประกาศห้ามนำเข้าไก่และผลิตภัณฑ์จากประเทศที่ยังไม่ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรค
ไข้หวัดนก ยกเว้นไก่แปรรูปปรุงสุกจากโรงงานที่ได้รับการรับรองจากเจ้าหน้าที่จากประเทศผู้นำเข้า เช่น ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป

หมายเหตุ : เครื่องหมาย + หมายถึง ปัจจัยที่เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทย
เครื่องหมาย - หมายถึง ปัจจัยที่เป็นผลเสียต่ออุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทย